รู้หรือไม่! ผู้หญิงไทยเผชิญกับความเลวร้ายที่เกิดขึ้น “ภายในครอบครัว” มากกว่าที่คุณคิด
ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ปี 2018 คดีความรุนแรงในครอบครัว คิดเป็น 80% ของคดีอาชญากรรมทั้งหมด
‘ฟิล โรเบิร์ตสัน’ รองผู้อำนวยการองค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch สาขาเอเชีย กล่าวว่าตัวเลขดังกล่าวนั้นเป็นเพียง “ยอดปลายภูเขาน้ำแข็ง” เท่านั้น เนื่องจากยังมีอีกหลายคดีความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ถูกรายงานต่อเจ้าหน้าที่
“เหยื่อมักเลือกที่จะไม่รายงานสิ่งที่เกิดขึ้น จนกระทั่งพวกเขาถูกทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือถูกกระทำอย่างรุนแรง”
โรเบิร์ตสันกล่าว
เรื่องที่น่าเศร้าก็คือ คนไทยจำนวนมากยังคงเพิกเฉยต่อประเด็นดังกล่าว และที่น่าหดหู่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือความจริงที่ว่า ภาพความรุนแรงนั้นถูกนำมาฟอกขาวให้กลายเป็นเรื่องโรแมนติกผ่านสื่อละครในประเทศ
.
.
💥 ผลกระทบจากการใช้ความรุนแรง 💥
ในปี 2017 พบว่า 29% ของผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงภายในครอบครัว ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในขณะที่ 26.1% โดนคนรักใช้กำลังบังคับขืนใจภายหลังจากที่มีปากเสียงหรือทะเลาะกัน
การทำร้ายร่างกายที่เกิดขึ้น แบ่งเป็น : ถูกกัด/ถูกฟัน (15.9%), ถูกข่วนหรือทำให้เกิดแผลฟกช้ำ (74.8%), มีอาการเคล็ด (56.1%), ถูกเผาไหม้/ถูกกรีดเป็นแผลลึก (6.5%), การบาดเจ็บบริเวณดวงตา (11.2%), กระดูกหัก/ฟันหัก (6.5%)
61% ของผู้หญิงที่ถูกทำร้าย สูญเสียสมาธิในการทำงาน บางรายถึงกับต้องหยุดงานไปทั้งวัน
23.9% สูญเสียความมั่นใจและความเคารพในตัวเอง
.
.
บทบาทของ “เพศ” ในสังคมไทย ภายใต้ระบบปิตาธิปไตย ซึ่งขับเคลื่อนมาจากศาสนาและค่านิยมครอบครัว
ประชากรในประเทศไทย 93.83% นับถือศาสนาพุทธ
ผู้หญิงที่เผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวบางคน เลือกที่จะเข้าวัดปรึกษาพระ และมักจะได้รับคำแนะนำให้ ‘อดทน’ และ ‘มีเมตตา’ ในขณะที่บางคนได้รับการสอนว่า ความทุกข์ทรมานที่ตนกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นผลมาจากกรรมเก่าในชาติที่แล้ว
นอกจากนี้ ในวิถีดั้งเดิมของครอบครัวชาวไทย ผู้เป็นสามีจะถูกมองว่าเป็น ‘หัวหน้า’ ครอบครัว ส่วนผู้ที่เป็นภรรยามักจะถูกคาดหวังให้ต้องวางตัวนอบน้อมและว่านอนสอนง่าย
และก็เป็นธรรมเนียมของครอบครัวไทยอีกนั่นแหละ ที่สอนให้คนในบ้านปกปิดความคิดและความรู้สึกของตัวเองเพื่อคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของครอบครัว
ที่น่าเศร้าใจที่สุดก็คือ วัฒนธรรมการใช้ความรุนแรงทางเพศที่ถูกสะท้อนผ่านละครไทย
นางเอกตกอยู่ภายในวงล้อของความหึงหวงหรือการแก้แค้น ถูกพระเอกทำร้ายร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการพูดจาทำร้ายความรู้สึก การกักขังหน่วงเหนี่ยว หรือหนักสุดก็ข่มขืน โดยที่ตอนจบนั้น ทั้งสองได้ครองคู่รักแฮปปี้เอนดิ้ง ซึ่งผิดกับชีวิตจริงที่ผู้ตกเป็นเหยื่อจะเกิดบาดแผลภายในจิตใจอย่างร้ายแรง ในขณะที่ผู้กระทำควรต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
ยิ่งใส่ฉากความรุนแรงแบบนี้เข้าไปมากเท่าไหร่ ละครก็ยิ่งได้รับความนิยม ผู้ชมฟินกันไปสามวันเจ็ดวัน
ทว่า . . ภาพที่ฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้คนไทยมองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมและยอมรับได้ถ้าหากผู้ชายจะ ‘ลงโทษ’ ผู้หญิงด้วยการใช้กำลัง
ไม่เพียงเท่านั้น อิทธิพลการรับสื่อจากละครยังส่งผลให้คนไทยรู้สึกเฉยชาต่อความรุนแรง และเพิกเฉยต่อตรรกะที่ว่า “การมีเพศสัมพันธ์ต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจ” อีกทั้งยังเป็นการสร้างค่านิยมผิด ๆ ที่ว่าสตรีเพศจะต้องตกเป็นคนในครอบครองของบุรุษที่ข่มขืนเธอ
บริษัทไททัน ธันเดอร์ ขอเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ยืนหยัดเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว ทางเราให้คำมั่นที่จะสร้างความตระหนักรู้ รวมถึงสร้างแคมเปญรณรงค์เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมให้สังคมของเราปราศจากการใช้ความรุนแรง
อ้างอิงข้อมูล :
https://en.wikipedia.org/wiki/Violence_against_women_in_Thailand